Get Adobe Flash player

งานประกันคุณภาพ


ลิงค์ภายนอก




ข้อคิดจากผู้อำนวยการ


นายสนาม  สุขคำ

ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 ข้อคิดจากผู้อำนวยการ    

การเสริมสร้างคุณธรรม 8 ประการแก่นักเรียน นักศึกษา

นักเรียน นักศึกษาทุกคนในสถานศึกษาควรได้ใช้ “คุณธรรมนำความรู้” สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้เชื่อมต่อความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา มีจุดเด่นเพื่อพัฒนาเยาวชน โดยมุ่งเน้นการปลูกฝัง 8 คุณธรรมพื้นฐาน ได้แก่

       ขยัน คือ ตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร สู้งาน มีความพยายาม กล้าเผชิญอุปสรรค ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง

       ประหยัด คือ ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายรู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย รู้จักทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ

      ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตนทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจ ปลอดจากความลำเอียงหรืออคติ ไม่คดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่และถูกต้อง

      มีวินัย คือ ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร และประเทศ โดยที่ตนยินดีปฏิบัติตามอย่างจริงใจและตั้งใจ ยึดมั่นในระเบียบ ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเองและสังคม

      สุภาพ คือ อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ เรียบร้อยไม่ก้าวร้าวรุนแรงหรือวางอำนาจข่มขู่ผู้อื่่นโดยทางวาจาและท่าทาง เป็นผู้มีมารยาทดีงาม วางตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย

      สะอาด คือ รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตไม่ให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม มีความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดสบายใจแก่ผู้พบเห็น

      สามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกันความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้องการเกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกันเป็นการยอมรับการมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า ความสมานฉันท์

      มีน้ำใจ คือ ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปันความเสียสละสุขส่วนตัว เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นเห็นอกเห็นใจ และเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์และผู้ที่มีความเดือดร้อน มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

หวังว่า นักเรียน นักศึกษา ทุกคนคงได้รับความรู้ดังกล่าวข้างต้นและนำไปใช้ในชีวิตให้ประสบความสำเร็จก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และสถาบันต่อไป

ข่าวด่วนงานประกัน

เรื่อง

Download

ประกาศเรื่อง ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)

ผลการประกวดสุดยอดโครงงาน ปล่อยของ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเครือข่ายคุณภาพ ปี 2554