ปรัชญาการบริหารการศึกษา

ปรัชญาการบริหารการศึกษา  (สำหรับคณะผู้บริหารการศึกษาโดยเฉพาะ)

                          ขอเสนอ   ปฏิญญา   ว่าด้วยความเชื่อพื้นฐาน  (Declaration  of  Fundamental   Beliefs)   ของบรรดาศาสตร์จารย์ทางวิชาบริหารการศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา   ได้ประมวลปรัชญาของการบริหารการศึกษา  ไว้  13  ข้อ  เป็นเสมือนสัจธรรม   คำจารึกความเชื่ออันควรพึงปฏิบัติของนักบริหารการศึกษา   เป็นหลักการสำคัญของการบริหารการศึกษา   อาจถือได้ว่าเป็นปรัชญาการบริหารการศึกษา    ซึ่งเป็นคตินิยมในการดำเนินกิจกรรมการบริหารการศึกษา    สำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่ดี    มีความพยายามในการบริหารการศึกษา    เพื่อให้มีวิถีทางพัฒนาไปข้างหน้าอย่างดีและมีหลักเกณฑ์     ผู้ที่ขาดความเชื่อพื้นฐานหรือปรัชญาการบริหารการศึกษานี้   ถึงแม้จะบริหารงานได้ผลดี   อาจเป็นเพราะเกิดขึ้นได้โดยเหตุความเก่งกล้าเฉพาะตัว   ประสบความสำเร็จด้วยความบังเอิญมากกว่าความสำเร็จ   อันเกิดจากเจตนารมณ์ที่แท้จริง    และจะไม่ถึงจุดยอดของผลงานที่ดี   CAMBELL  and  GREGG  ได้เสนอไว้ในหนังสือ   Administrative  Behavior  in  Education    มีสาระสำคัญและข้อคิดเห็นของผู้เขียนเพิ่มเติม   ดังนี้

1.   การใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาต่าง ๆ   (Application  of  intelligence  to  life  problem )

ผู้บริหารต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ  เมื่อมีปัญหาควรทำการศึกษา    วิเคราะห์ปัญหาและใช้ความฉลาดไหวพริบของผู้ร่วมงานมาช่วยคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ  ที่สำคัญในการบริหาร   ผู้บริหารต้องมีความเชื่อพื้นฐานยอมรับความสามารถของมนุษย์    ผู้ร่วมงานว่าเขาสามารถจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ  ปรับปรุงพัฒนางาน   แก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ  ที่เหมาะสมของเขาเองได้    โดยใช้สติปัญญาของเขาเอง

ผู้บริหารต้องยอมรับความเชื่อพื้นฐานว่า   มนุษย์ทุกคนมีความสามารถในการแก้ปัญหาในการจัดการศึกษาทุกระดับ   มีจุดหมายและหลักการของหลักสูตร   สอนให้คิดเป็น  ทำเป็นแก้ปัญหาได้   รู้จักคิดและการศึกษาวิเคราะห์อย่างมีระเบียบการ    การทำงานย่อมมีปัญหา   เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไข    ผู้บริหารควรให้ผู้ร่วมงานช่วยกันแก้ไขปัญหาปลีกย่อยรายวันต่าง ๆ  โดยดูแลให้ความช่วยเหลือตามสมควร

ภาระหน้าที่หลักของผู้บริหาร   คือ  การวินิจฉัยสั่งการ   เมื่อมีปัญหาต่าง ๆ  ต้องแก้ไขแก้ปัญหาให้สำเร็จด้วยความราบรื่น    แต่ไม่ใช่แก้ด้วยตนเองทุกเรื่องราว    ต้องสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานได้ช่วยกันคิด   ช่วยกันแก้ไขปัญหา   ผู้บริหารที่ดีซึ่งประสบความสำเร็จในการบริหารจะไม่เข้าแก้ปัญหาปลีกย่อย ประจำวัน    แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้ช่วยกันคิด   ช่วยกันแก้ไขปัญหาปลีกย่อยต่าง ๆ ประจำวัน   ด้วยตัวของเขา    เมื่อมีปัญหาด้านนโยบาย   ด้านการวางแผน  ด้านการบริหารงานบุคคล   ผู้บริหารควรใช้วิธีการแห่งปัญญา    ให้คณะผู้บริหาร   ผู้ร่วมงาน   ช่วยกันศึกษาวิเคราะห์   ก่อนตัวผู้บริหารจะตัดสินใจสั่งการ   แต่ถ้าเป็นปัญหาเฉพาะหน้า   ปัญหามีความเร่งด่วนผู้บริหารจะต้องใช้สติปัญญาไตร่ตรองและสั่งการได้ใน ทันที

2.   การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นคณะเป็นสิ่งจำเป็น  (Necessity  of  social  group  action)

ผู้บริหารควรใช้บุคลากรหลายฝ่ายช่วยกันทำงานและแก้ไขปัญหา   ให้บุคลากรหลาย ๆ กลุ่ม  คือ  เปิดให้บุคคลจำนวนมาก   หรือบุคคลหลาย ๆ  คนของกลุ่ม   เข้าร่วมในการกระทำ  และจะทำงานตามลำพัง    เก่งอยู่คนเดียวไม่ได้   จากผลการวิจัยและการทดลองของนักศึกษา  สรุปเป็นความเชื่อพื้นฐานได้ว่า   วิธีการปรับปรุงพัฒนางาน   หรือการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานที่ดีที่สุด  คือ  ใช้วิธีทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม    การปล่อยให้คนเก่ง   ทำงานคนเดียวเสียทุกอย่าง   อาจมีความจำเป็นเพื่อริเริ่มงานโดยกลุ่ม   แต่ถ้าปล่อยให้เหมางานอยู่คนเดียว    เก่งอยู่คนเดียวตลอดไป    คณะผู้ร่วมจะไม่ยอมรับในการบริหารงานบุคคล    มีบุคคลทำงานร่วมกันเป็นคณะใหญ่   เช่น   การบริหารโรงเรียน    ต้องยอมรับความเชื่อเป็นปัจจัยพื้นฐานว่า    คณะบุคคลผู้ร่วมงาน   จะต้องมีวินัยที่เหมาะสม    เพื่อเป็นตัวควบคุมการทำงานเป็นคณะของคนในกลุ่ม    เป้าหมายปลายทางของการจัดการศึกษา   คือ  การสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม    จะต้องสร้างให้มีขึ้น    ในกลุ่มคณะผู้ร่วมงาน    เพื่อให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดี    การดำเนินการให้คณะผู้ร่วมงานทุกคนมีจริยธรรม   ซึ่งหมายถึง     คุณค่าเกี่ยวกับความประพฤติของสังคม   กริยาวาจาที่ควรประพฤติ   ความประพฤติถูกผิดหรือดีชั่ว    ซึ่งคนในหมู่กำหนดนิยมขึ้นไว้    ว่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความสูงความเจริญแห่งวิถีชีวิตของสังคม   และธรรมในระดับศีล    ศีลธรรม  (moral)   หมายถึง  ความประพฤติที่ดีที่ชอบ    เป็นไปตามข้อบัญญัติที่กำหนดเป็นทางปฏิบัติ   เป้าหมายปลายทางดังกล่าวไม่สามารถทำได้จากผู้บริหารคนเดียว     ต้องอาศัยพลังการกระทำของกลุ่มและความร่วมมือร่วมใจอันดีต่อกันของบุคลากรใน กลุ่มด้วย   ผู้บริหารโรงเรียนอย่าเก่งอยู่คนเดียว     คณะผู้ช่วยผู้บริหาร    หัวหน้าหมวดวิชา   หัวหน้างานเขาจะทิ้งหรือปล่อยให้ท่านเก่งไปคนเดียว    งานต่าง ๆ  จะมีโอกาสล้มเหลว   ไม่พัฒนา  หรือขาดความร่วมมือร่วมใจ   เป็นผู้บริหาร    ต้องให้การยอมรับคณะผู้ร่วมงาน  ให้คณะผู้ร่วมงานรับผิดชอบทำงานของโรงเรียนร่วมกันเป็นคณะ  (Team)   ให้คิดร่วมกัน    ทำงานร่วมกัน   จะเกิดความรับผิดชอบเกิดความร่วมมือร่วมใจทำงานสำเร็จด้วยความราบรื่น

3. การยอมรับนับถือในปัจเจกบุคคล   (Respect  for  the   individual)

ปัจเจกบุคคล   คือ  บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน   คำว่า   Individual   ศัพท์บัญญัติฉบับราชบัณฑิตยสถาน   ให้ใช้   ปัจเจกบุคคล    ซึ่งไม่คุ้นหู    การยอมรับนับถือในบุคคลแต่ละคน   คือ  พื้นฐานแห่งการยอมรับนับถือในบุคลิกภาพความเป็นมนุษย์ของผู้ร่วมงาน   ว่าแต่ละคนแตกต่างกัน    ผู้บริหารต้องเคารพความเป็นบุคคลของแต่ละคน    ซึ่งแตกต่างกัน   โดยต้องให้ความยอมรับนับถือ  ในความคิด   ความเห็น   ความสามารถ   พฤติกรรมและธรรมชาติของบุคคลผู้ร่วมงาน    ซึ่งมีความแตกต่างกัน    การทำงานร่วมกัน    การติดตามงาน    การนิเทศงาน   ต้องคำนึงถึง   และยอมรับในปัจเจกบุคคล    ซึ่งมีความแตกต่างกัน

ผู้บริหารโรงเรียนต้องยอมรับนับถือในคณะผู้ร่วมงาน    และผู้มาเกี่ยวข้องในงานว่าแต่ละคนมีอุปนิสัย    บุคลิกภาพ    ความสามารถหรือศักยภาพ    แตกต่างกัน    เมื่อผู้บริหารยอมรับนับถือว่าในแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันแล้ว     การบริหารงานบุคคล    การเอาคนมาใช้งาน   จะพิจารณาองค์ประกอบขององค์กร   และกิจกรรมต่าง ๆ   ของโรงเรียน    จัดให้คณะผู้ร่วมงานได้รับผิดชอบได้ทำงานตามความรู้    ความสามารถเพื่อโรงเรียน    การใช้คนควรกระจายงานให้คนซึ่งมีความแตกต่างกัน   ตามความรู้    ความสามารถ   ประสบการณ์    ให้ช่วยกันทำงาน

 4. การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การ(Functional  social  Organization)

องค์กรสังคม     ย่อมมีบทบาทและหน้าที่    ผู้บริหารโรงเรียน    ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานจะต้องยึดเป้าหมายปลายทางหรือจุดประสงค์ของการ จัดการศึกษาเป็นหลัก    การบริหารโรงเรียนจะไม่มีความหมาย    ถ้าคณะผู้บริหาร    ไม่รู้บทบาทและหน้าที่ว่าจะบริหารโรงเรียนเพื่อให้สนอง   “ความมุ่งหมายในแผนการศึกษาแห่งชาติ “  และ  “จุดหมาย”  “หลักการ”   ของหลักสูตร   อย่างไร  ในฐานะผู้นำ   ผู้บริหารจะต้องมีการปรับปรุงการดำเนินงานให้เหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยน แปลง   การกำหนดที่ความรับผิดชอบให้บุคลากรทุกคนรู้หน้าที่คือ    การกำหนดเป้าหมายปลายทางหรือจุดประสงค์ของภาระหน้าที่ของบุคลากรทุกฝ่าย    เพื่อนำโรงเรียนไปสู่จุดหมาย

ผู้บริหารโรงเรียน    ย่อมจัดหน่วยงาน   จัดองค์กร    เพื่อมุ่งหวังให้งานสำเร็จ    การจัดองค์การมีความแตกต่างกันไปตามสภาพของโรงเรียน    จะจัดหน่วยงานให้เลอเลิศตามอุดมคติอย่างใด    ถ้าคณะผู้ร่วมงานไม่รู้บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ    ก็ไม่สามารถจะทำงานให้บรรลุเป้าหมายปลายทางที่สมบูรณ์ได้   มีข้อคิดว่า    การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบการจัดองค์การ   อย่าถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว     แก้ไขปรับปรุงไม่ได้    ควรจะให้สามารถเปลี่ยนแปลงปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นได้ตลอดเวลา

5.  ผู้บริหารคือเครื่องมือของกลุ่ม  (Administrator a  group  instrument)

         การบริหารโรงเรียน   เพื่อให้บรรลุจุดหมาย   จะต้องรับบทบาทหน้าที่  จะต้องมีความสอดคล้องกับความเห็น    ความสนใจผลประโยชน์   และความต้องการของกลุ่มผู้บริหารโรงเยนจะต้องถือว่าตนเองเป็นเพียงตัวแทนของ กลุ่ม    ผู้ทำหน้าที่ประสานประโยชน์คณะบุคคลในโรงเรียน    เพื่อช่วยให้การดำเนินงานต่าง ๆ  บรรลุจุดหมายได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ

ผู้บริหาร   ต้องมีความเชื่อในหลักการเบื้องต้นว่า   ตนเองเป็นผู้นำของกลุ่ม   เป็นเครื่องมือของกลุ่ม    มีภาระหน้าที่อำนวยความสะดวก    ให้บริการรับใช้กลุ่ม     และประสานประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน    เรียบร้อยเป็นไปตามวิถีทางที่ดี   และให้บรรลุจุดหมายและหลักการของหลักสูตรซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทงาที่กำหนด ไว้

6. มีเสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร  (Freedom  of  communication)

เสรีภาพแปลว่า   “ความมีเสรี”   เสรี  พจนานุกรมฯ  แปลว่า   มีสิทธิที่จะทำจะพูดได้โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น    มีเสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร    หมายถึงมีเสรีในการติดต่อสื่อสาร   การติดต่อสื่อสารที่มีเสรีมีลักษณะการเปิดโอกาสการติดต่อสื่อสารทำความเข้า ใจต่อกันโดยมีความแพร่กระจายกระทำอย่างสม่ำเสมอ    ให้รู้กันไปทั่วทั้งโรงเรียนและสาธารณชน   เพื่อความเข้าใจกันดีระหว่างบุลากรในโรงเรียน    นอกโรงเรียน    การติดต่อสื่อสารนั้นจะต้องเป็นขบวนการไมตรีสองทาง   (a  two –way  process)   คือ  ทั้งรับและให้ความคิดและข่าวสารซึ่งกันและกันให้ทุกคนมีความเข้าใจอันดีต่อ กัน

ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องกำหนดระบบของการติดต่อสื่อสารหลายช่องทางและหลาย รูปแบบจะต้องเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกฝ่ายเข้าพบและทำความเข้าใจได้ทุก เมื่อ    จะต้องเป็นผู้ให้และผู้รับฟังความคิดเห็นของบุคลากรทั้งในโรงเรียนนอก โรงเรียน   จะต้องมีระบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์โรงเรียน    เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน    เมื่อระบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์ดี   จะช่วยความเข้าใจอันดี    ทำให้เกิดวามร่วมมือร่วมใจทำงานเพื่อโรงเรียน    และจะช่วยขจัดความไม่เข้าใจกัน   ความลำเอียงและอภิสิทธิ์ต่าง ๆ   ที่อาจจะเกิดขึ้นได้หลายทาง    การดำเนินการดังกล่าวนั้น   คือ  งานประชาสัมพันธ์โรงเรียนชุมชนในอุดมคติ

7. ผู้บริหารในฐานะผู้นำ   (Administrator   as  leader)

                                ผู้บริหารโรงเรียนเป็นตัวจักร สำคัญที่จะกระตุ้น    ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง   เพื่อดำเนินกิจกรรมการบริหารงานโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมายปลายทาง    การบริหารโรงเรียน   ผู้บริหารโรงเรียนต้องถือว่า               ตนเป็นผู้นำ   ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาแบบเจ้านายผู้ทรงอำนาจ   ในฐานะผู้นำ   จะต้องเป็นตัวแทนของกลุ่ม    ผู้ควบคุมดูแลงานการบริหาร    ผู้ประสานประโยชน์ให้บุคลากรในโรงเรียนทำงานให้โรงเรียน    ได้ประสิทธิผลสูงสุด  และมีประสิทธิภาพ

ผู้บริหารโรงเรียนในฐานะผู้นำ     จะต้องเป็นผู้นำในการวางแผน    ติดตามดูแลกำกับการเสริมพลังผู้ร่วมงาน    และประเมินผลงาน    ให้งานของโรงเรียนบรรลุจุดหมาย    ตัวผู้บริหารจะต้องเป็นผู้มีชีวิตชีวาและทนทาน   มีความสามารถในการบริหารงานและตัดสินใจสั่งการ   มีความสามารถในการจูงใจคน    มีความรับผิดชอบสูงและเป็นผู้มีความฉลาดไหวพริบดี

ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำของนักการศึกษา   เป็นผู้นำของคณะครู    ฉะนั้นจะต้องสามารถนิเทศ   งานการศึกษา   ต้องสามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือสนับสนุน    การทำงานของครูด้านการเรียนการสอนได้ดี   และผู้บริหารโรงเรียนในฐานะผู้นำนั้น   ไม่มีทางหลีกหนีภาวะผู้นำ   อันเป็นที่คาดหวังของกลุ่มว่า   จะต้องเป็นผู้นำของครูที่ดี   คือ  เป็นครูที่ดีท่ามกลางครูทั้งหลาย

 

8. ผู้บริหารโรงเรียนในฐานะนักการศึกษา  (Administrator  as  educator)

ผู้บริหารโรงเรียนในฐานะผู้นำของครูในโรงเรียนนั้น   ตัวเองจะต้องเป็นครูที่ดีด้วยการบริหารโรงเรียนให้บรรลุผลสำเร็จทางการศึกษา นั้น   คือ  เป้าประสงค์ของการบริหาร   ภารกิจมูลฐานของผู้บริหารการศึกษาก็คือ   เป็นผู้นำการบริหารการใช้หลักสูตรให้สัมฤทธิ์ผล

ผู้บริหารโรงเรียนที่ดี   จะต้องถือว่าตนเอง  คือ นักการศึกษา   ผู้ยึดมั่นในอุดมการณ์ความเป็นครูที่ดีจะต้องปฏิบัติและวางตนอย่างนักการ ศึกษา    เป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษา   หาความรู้   ให้เป็นผู้มีความรู้    ความเข้าใจในเรื่องการศึกษาทั่วๆ  ไปของวิชาชีพครู   คือ  เป็นผู้มีความรู้   ความสามารถเพื่อเป็นครูที่ดี   และต้องเป็นผู้มีความรู้   ความเข้าใจเรื่องราวของการบริหารอย่างถ่องแท้ด้วย

9.  การอุทิศประโยชน์ในการจัดการศึกษาเพื่อให้สังคมดีขึ้น  (Dedication  of  Public education  to  community  betterment)

แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร  คือ “การศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตเพื่อที่ทำประโยชน์ต่อสังคม”   อบรมสั่งสอนเยาวชน   ให้พัฒนาตนเป็นสมาชิกที่ดีของมนุษยชาติ   พัฒนาอาชีพด้านความรู้ความสามารถให้เป็นสมาชิกที่ดีของการอาชีพ   พัฒนาสังคม   ให้เยาวชนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม   ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเป็นผู้เสียสละ   มีหน้าที่   มีความรับผิดชอบ   มีความสำนึกในการรับใช้สังคม   จัดการศึกษาเพื่อปรับปรุงพัฒนาสังคม   ประชาธิปไตยให้ดีขึ้นในทุกวิถีทาง

นักการศึกษามีแนวคิดพื้นฐานว่า   ผู้บริหารโรงเรียนในฐานะผู้นำการศึกษาในสังคมประชาธิปไตยนั้น   จะไม่ต้องจำกัดตัวเองอยู่แต่ในโรงเรียน    หรือเพียงควบคุมดูแลแต่งานในโรงเรียนของตนเท่านั้น   จะต้องมีส่วนช่วยเหลือพัฒนาโรงเรียนอื่น  ชุมชน   และสังคมที่ด้อยกว่าให้สังคมโดยส่วนรวมดีขึ้น    มีส่วนร่วมกิจกรรมพัฒนาชุมชนและสังคม    ตลอดจนอนุรักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม    ศิลปวัฒนธรรมของชุมชน    นักการศึกษามีความเชื่อพื้นฐานนี้   และกล่าวยืนยันว่าโรงเรียนควรจะเป็นผู้ทำหน้าที่ช่วยแก้ไขเปลี่ยนแปลงและ ปรับปรุงพัฒนาชุมชนและเพื่อให้ชุมชนสังคมดีขึ้น

10.  บูรณาการรวมหน่วยในการจัดการศึกษาระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  (School – Community  integration  in education)

คำว่า   Integration   มีความหมายว่า   “ความสมบูรณ์”    ปรมาจารย์นักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ของไทย   ศาสตราจารย์   ดร.สาโรช    บัวศรี   ท่านบัญญัติให้ใช้   “บูรณาการ”   นักการศึกษาไทยใช้จนติดปาก    แต่ไม่มีศัพท์คำนี้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน   มีแต่คำว่า  “บูรณาภาพ”   แปลว่า   “ความครบถ้วนบริบูรณ์”   และ  “บูรณาการรวมหน่วย”    ศัพท์บัญญัติฉบับราชบัณฑิตยสถานแปล   Integration   ว่าบูรณาการรวมหน่วย   ให้ความหมายไว้ว่า   “การนำหน่วยที่แยก ๆ กันรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน”

ในการจัดการเรียนการสอน    ท่านศาสตราจารย์   ดร.สาโรช    บัวศรี    ท่านได้เขียนหนังสือความรู้สำหรับครู   เรื่อง  บูรณาการ    ให้ครูจัดการเรียนการสอน   สอนให้นักเรียนมีบูรณาการและการบริหารการใช้หลักสูตรในแง่บูรณาการ   ในแง่ของปรัชญาการบริหารการศึกษา   ศัพท์คำเดียวกันนี้   หมายถึง  การที่โรงเรียนและชุมชนจะมีส่วนช่วยให้เกิดบูรณาการรวมหน่วย   คือ ทั้งโรงเรียนและชุมชนควรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน    ช่วยเหลือกันในการจัดการศึกษา

จากข้อ  9  การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นนั้น   เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการศึกษาของสังคม   โรงเรียนจึงควรมีส่วนสำคัญในการร่วมกิจกรรมกับสถาบันอื่นในสังคมเพื่อเป็น การร่วมมือทางการศึกษา   เป็นบูรณาการรวมหน่วย    คือ  การนำหน่วยต่าง ๆ  ในชุมชนมาร่วมกัน    ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน    เพื่อการศึกษาของสังคม   ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเป็นผู้ประสานงาน   ประสานน้ำใจระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการดำเนินงานทางการศึกษาให้ชุมชนช่วย เหลือโรงเรียนเพื่อชุมชนและสังคม

โรงเรียนและชุมชนมีหลักการพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน   จึงควรจะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน    ฉะนั้นในการบริหารการใช้หลักสูตร   การพัฒนาหลักสูตร   ผู้บริหารจะต้องหาวิธีการสร้างหลักสูตร    ใช้หลักสูตรเพื่อชุมชน   และใช้ประโยชน์ทรัพยากรของโรงเรียน   ทรัพยากรของชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษา   การพัฒนาชุมชน    และให้ทุกหน่วยมีส่วนช่วยในการพัฒนาเยาวชนของชุมชนเพื่อพัฒนาชีวิตเยาวชนที่ จะทำประโยชน์ต่อสังคมตามที่สังคมต้องการ

11.  การประเมินค่าการบริหาร  2  ทาง  (Two-fold  evaluation  of  Administration)

การประเมินค่า   กิจกรรมการบริหารการศึกษา   โดยส่วนรวมทั่วไปจะต้องประเมินทั้งวิธีการหรือกระบวนการบริหาร   กับผลผลิตหรือผลสำเร็จที่ได้จากการบริหาร    ซึ่งทั้ง  2  ทางดังกล่าว   ไม่สามารถจะประเมินแยกกันได้   เพราะผลสำเร็จจากการบริหารจะออกมาในลักษณะใดขึ้นอยู่กับทั้งกระบวนการและผล ผลิตที่ได้

ผู้บริหารจะต้องทำการประเมินผลงานของตนเองอยู่เสมอ    ผลผลิตหรือผลสำเร็จของงานเป็นอย่างไร   การดำเนินการมีปัญหาอุปสรรคอะไรหรือไม่   ขวัญและกำลังใจของผู้ร่วมงานเป็นอย่างไร    การประเมินต้องกระทำทั้ง  2  อย่างไปพร้อมกัน  คือ  ประเมินวิธีการหรือกระบวนการพร้อม ๆ กันไปกับการประเมินผลสำเร็จของงาน

วิธีการกับผลผลิต   เป็นมรรคเป็นผลซึ่งกันและกัน    การประเมินค่าการบริหารต้องประเมินทั้ง  2  ทาง  ไม่ควรแยกกันประเมิน   การประเมินแต่ผลที่ได้อย่างเดียว   นักบริหารการศึกษาเขาไม่ทำกัน

12. ความซื่อสัตย์มั่นคงและความรับผิดชอบในวิชาชีพ  (Professional  integrity  and  Responsibility)

นักบริหารการศึกษามีความเชื่อพื้นฐานว่า   ผู้บริหารการศึกษาที่พึงปรารถนานั้นจะต้องมีความซื่อสัตย์มั่นคงและมีความ รับผิดชอบในวิชาชีพ   ควรเป็นผู้มีหน้าที่บริหารการศึกษาเพื่อรับใช้สังคม    ตามที่สังคมต้องการ   มีความซื่อสัตย์และรับผิดชอบต่อวิชาชีพทั้งโดยส่วนตัวและส่วนรวม    ไม่ทำความเสื่อมเสีย    ทำความมัวหมองให้ผู้ร่วมงาน   หรือทำให้สังคมเหยียดหยามวิชาชีพของนักบริหาร   และจะต้องรักษาไว้ซึ่งวินัยของผู้บริหารในสังคมส่วนรวม

ความเชื่อพื้นฐานนี้   เป็นเครื่องชี้วัดว่า   งานการบริหารโรงเรียนจะต้องมีการพัฒนาผู้บริหาร   การพัฒนาควรมาจากความร่วมมือของราชการและสถาบันวิชาชีพ    ผู้บริหารโรงเรียนจะเป็นผู้บริหารที่ดีได้นั้น    จะต้องมีการเตรียมตัว   ได้ศึกษาด้านการบริหารมาโดยตรง  หรือได้ศึกษาด้านการศึกษา   และอย่างน้อยผ่านการฝึกอบรมจากสถาบันพัฒนาผู้บริหาร    และระหว่างเป็นผู้บริหารได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติม    ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม    เมื่อเป็นผู้บริหารโรงเรียนแล้ว   จะต้องมีหน้าที่โดยวิชาชีพรับใช้สังคม    เพื่ออุทิศตนทำประโยชน์ให้โรงเรียนและสังคมส่วนรวมต่อไป

13. พัฒนาตนในวิชาชีพ   เป็นสิ่งจำเป็น  (Necessity  for  Professional  Growth)

ผู้บริหารการศึกษา   จะต้องพัฒนาตน   ขวนขวายหาความรู้ใส่ตนเสมอ   แสวงหาประสบการณ์   พัฒนาความรู้   ความสามารถเพื่อให้การบริหารงานของตนพัฒนาขึ้น   ในปัจจุบันงานด้านการบริหารการศึกษามีมากขึ้น   โลกมีความสับสนและสลับซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน    ผู้บริหารโรงเรียนจึงมีความจำเป็นจะต้องพัฒนาตนเอง   ทั้งด้านวิชาการทั่วไปและด้านความชำนาญในสายงานของตนเอง   เพื่อเป็นผู้บริหารที่มีความรู้    ความสามารถ   มีความเชี่ยวชาญ   มีความมั่นใจ   ในการปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารให้เกิดผลดีสูงสุด

นักบริหารการศึกษามีความเชื่อเป็นหลักการว่า    ในการพัฒนางานการศึกษานั้น

ผู้บริหารมีความสำคัญ   ผู้บริหารการศึกษา    ผู้บริหารโรงเรียนมีความสำคัญต่อสังคมมาก   จึงควรมีการพัฒนา   เพื่อให้เป็นผู้บริหารที่ดี    มีความเจริญเติบโตในวิชาชีพ   การพัฒนาผู้บริหารการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้    ความสามารถ   เพิ่มพูนประสบการณ์    ในการบริหารจะต้องมีการดำเนินการพัฒนาด้วยวิธีการต่าง ๆ  อยู่ตลอดเวลาที่เป็นผู้บริหาร

ก่อนจบ   ปรัชญาการบริหารการศึกษา    ขอฝากปรัชญาชีวิตสำหรับผู้บริหารการศึกษา  “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงานและคุณธรรมความดี”    การทำงาน   จงทุ่มเข้าไปสุดชีวิต   ทำให้ดีที่สุด   จงอย่าคิดและนึกเปรียบเทียบว่าเราทำงานมากกว่าคนอื่น   เราเก่งกว่าคนอื่น    ถ้าคิดอย่างนี้บ่อย ๆ  จะเกิดความคับแค้นใจ   เสียพลังงานไปเปล่า ๆ  จงทำใจให้สบาย   ถ้าผลตอบแทนไม่ได้ดังใจขอให้นึกถึงสัจธรรม    “ตถาตา”    มันเป็นเช่นนี้เอง    ไม่สร้างความเดือดร้อนใส่ตน    เพราะความไม่เห็นตถาตา   คือ  ไม่เห็นความเป็นเช่นนั้นเอง   ของผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชา   เช่น  เมื่อมีใครทำอะไรไม่ถูก    เมื่อไม่ได้รับผลดังใจ    หรือเกิดความผิดพลาด   ก็โกรธไม่เห็นตถาตา   คือ  ไม่เห็นความเป็นเช่นนั้นเอง    ของผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชา   เช่น  เมื่อมีใครทำอะไรไม่ถูก  เมื่อไม่ได้รับผลดังใจ   หรือเกิดความผิดพลาด   ก็โกรธแค้น   โกรธเป็นฟืนเป็นไฟไม่ให้อภัยในจังหวะโอกาส    และความโง่หรือความไม่สามารถของเรา    ซึ่งมันเป็นเช่นนั้นเองเมื่อโกรธมาก็เหมือนคนบ้าอาละวาดไป    อย่าหลงดีใจเห่อเหิมจนลืมตัวเมื่อได้ดี    อย่าหลงโกรธแค้น   เศร้าโศก   เกลียด  โกรธ   อาลัยอาวรณ์   จนนอนไม่หลับ    เมื่อผิดหวังหรือไม่ได้ดังใจ   อย่าทำให้เกิด  ปัญหามากขึ้นเพราะไปหลงยึดมั่นถือมั่น   อยากได้ใคร่ดีจนเกิดเหตุ


                ข้อปฏิบัติ   เมื่อมีปัญหาจนแก้ไขไปด้วยเหตุผลตามสมควร    ได้ผลเพียงใดก็พอใจของเราเท่าที่ได้    มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่   ละวางความยากได้ความเห็นแก่ตัวลง   ให้อภัยแก่กัน   ควรทำบุญสร้างกุศลและช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาส   มีความรักและความเข้าใจอันดีต่อเพื่อนร่วมงาน   ชีวิตการทำงานจะเป็นสุขและสนุกกับหน้าที่การทำงาน

ครูสอนดี   อย่างต่ำ   ได้เป็นอาจารย์   2   ระดับ  7

ถ้าประมวลผลงานของครูสอนดี   รวบรวมนำส่งเป็นผลงานวิชาการ   จะได้เป็นอาจารย์  3    หรือ  อย่างต่ำต้องได้เป็น   อาจารย์  2  ระดับ  7   แน่นอน

1.   สอนดี   จะเชี่ยวชาญการสอน    ต้องเตรียมการสอน    ทำสื่อ   มีวัสดุอุปกรณ์  มีผลงานที่แสดงว่า    รู้ทฤษฎีการเรียนการสอนและทฤษฎีการเรียนรู้    ครูต้องมีการวิเคราะห์ข้อสอบ   จัดทำคลังข้อสอบ    ค้นคว้าให้รอบรู้ในวิชาที่สอน    จัดทำชุดแบบฝึกหัด    บทเรียนสำเร็จรูป

2.   มีแผนการสอนรายวิชา    ครูสอนดี   ต้องทำแผนการสอนรายวิชา    แผนการสอนรายวิชาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิตครูผู้สอน    ต้องวิเคราะห์จุดประสงค์และวิเคราะห์หลักสูตรบันทึกการสอน    โดยเน้นรายการที่จำเป็นตามแบบบันทึกแผนการสอน

3.  มีวิธีสอนที่หลากหลาย    แผนการสอนต้องเน้นขั้นตอนการสอน   เน้นทักษะกระบวนการจะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล   บันทึกแผนการสอนโดยละเอียด    เน้นขั้นตอนการสอน   ทุกขั้นตอนการสอน    ก็ได้เป็นอาจารย์  3  ได้

4.   จัดกิจกรรมต่าง  ๆ  ให้นักเรียนปฏิบัติ   ต้องวางแผนการสอน   ให้นักเรียนได้เป็นผู้ปฏิบัติเรียนด้วยการกระทำ   นักเรียนเป็นผู้แสดง   ด้วยความชื่นชม

5.   การอบรมคุณธรรม   จริยธรรมและค่านิยม    เป็นหน้าที่สำคัญยิ่งของครู   ควรมีหัวข้อสำหรับการอบรม    หรือหลักฐานแสดงว่าได้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญนี้

6.    ความรักที่มีต่อนักเรียน    เป็นสัจธรรมที่สำคัญของชีวิตครู    การติดตามดูแลช่วยเหลือนักเรียน    ให้นักเรียน   เป็นผู้มีความรู้และจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดี    มีการบันทึกข้อมูลดีเด่นหรือผลงาน   ด้านการช่วยให้นักเรียนพัฒนาตน   พัฒนาอาชีพและพัฒนาสังคม   การช่วยเหลือชุมชน  ฯลฯ

                         ครูเอ๋ยครู                                                    สอนดี                                 มีหกสถาน

                         หนึ่ง    เชี่ยวชาญ                                        ให้ความรู้                              ผู้ศึกษา

                         สอง    แผนการสอน                                     ทำไว้                                  ทุกรายวิชา

                         สาม   สรรหา                                               วิธีสอน                                ให้มากมาย

                         สี่     กิจกรรม                                               ต้องมีไว้                              ได้ปฏิบัติ

                         ห้า   จริยธรรม                                              เสริมชัด                               ตามมุ่งหมาย

                         หก    เมตตา                                                เอื้อเอ็นดู                             รู้ผ่อนคลาย

                         ครูหญิงชาย                                                 เป็นดังนี้                             &nbs

^