ผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นมืออาชีพ

ผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นมืออาชีพ

บทนำ

                ในสภาพที่สังคมมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การจัดการบริหารองค์การต่างๆ จะต้องตามความเปลี่ยนแปลงให้ทัน มิเช่นนั้นจะถูกทิ้งให้ล้าหลัง และจะประสบความล้มเหลวในการบริหารองค์การนั้น ๆเพราะความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การย่อมขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้บริหาร องค์การทุกองค์การไม่ว่าจะเป็นองค์การภาครัฐ หรือเอกชน ต่างต้องการที่จะให้องค์การของตนมีนักบริหารมืออาชีพมาบริหารในส่วนของการบริหารจัดการศึกษาก็เช่นเดียวกัน ผู้บริหารนับเป็นผู้ที่มีบทบาทส าคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการจัดการศึกษา คำว่า “ผู้บริหาร ”ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติหมายถึงบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของภาครัฐและเอกชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง ตามนโยบายการกระจายอ านาจทางการศึกษา ซึ่งสิ่งที่นักบริหารการศึกษา และบุคคลทั่วไปมีความคาดหวังต่อการเป็นผู้บริหารสถานศึกษา คือการเป็น “ผู้บริหาร
สถานศึกษามืออาชีพ”นั่นเองการศึกษาไทยในยุคปฏิรูปการศึกษาต้องการให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็น “ผู้บริหาร สถานศึกษามืออาชีพ”ที่มีความรู้และประสบการณ์สมกับที่เป็นวิชาชีพชั้นสูง เป็นบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษา ที่นอกจากจะบริหารบุคลากรครูผู้สอนแล้ว ผู้บริหารมืออาชีพจะต้องเป็นผู้น าทางวิชาการ เป็นผู้นำการปฏิรูปการเรียนรู้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กล่าวคือ มีความสามารถที่จะประสานการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในการระดมความสามารถและทรัพยากร เพื่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ตลอดจนจัดให้มีกระบวนการประกันคุณภาพเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกด้านเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา

                ในการบริหารจัดการสถานศึกษา ได้มีการกล่าวถึง ครูมืออาชีพและผู้บริหารมืออาชีพ และถือกันว่าเป็นกลไกที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง ทำให้การปฏิรูปการศึกษาไทยบรรลุผลตามเจตนารมณ์ และช่วยให้แผนแม่บทในการปฏิรูปการศึกษาของไทยเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการบริหารจัดการสถานศึกษา คือ ผู้ที่มีตำแหน่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา เนื่องจากในภาคปฏิบัติจะเป็นตัวการและเป็นกลไกหลักในการกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ต้องทำหน้าที่และรับผิดชอบโดยตรงในการดูแล ควบคุมกำกับและส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการทำงานในส่วนต่างๆของสถานศึกษาให้การด าเนินงานเป็นไปตามนโยบายที่ได้วางไว้ ดังนั้น ความก้าวหน้า หรือ ความล้าหลังของสถานศึกษาและคุณภาพของนักเรียน จะขึ้นอยู่กับความเป็นผู้นำและความสามารถของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นหลักผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษานั้น โดยภาพรวมแล้วจะมีภาระหลักที่ส าคัญ 3 ด้านด้วยกัน คือ

1. ภาระด้านการบริหารงานภายในของสถานศึกษา ซึ่งมีงานวิชาการและกิจการนักเรียนเป็นงานหลัก จากนั้นจะเป็นงานการเงินและการงบประมาณ งานบริหารบุคคล งานบริหารทั่วไป ฯลฯ

2. ภาระด้านการพัฒนาสถานศึกษาและการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งมีกิจกรรมด้านการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นงานพื้นฐาน และมีงานด้านการพัฒนาอื่นๆ
ประกอบ จะต้องมีการวางแผน มีการก าหนดการด าเนินงานให้สอดคล้องกับบริบททางการศึกษา สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

3. ภาระด้านการประสานงานและการติดต่อกับหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา ทั้งในระดับชุมชนหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานอื่นภายนอกระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ (ถ้ามีประโยชน์กับการพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา)ภาระงานทั้ง 3 ด้าน ดังกล่าวนี้ ล้วนมีความส าคัญและมีผลโดยตรงต่อการบริหารจัดการและพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา และสะท้อนถึงความรู้ ความสามารถ ความเป็นนักบริหารระดับมืออาชีพ(Professional) ของตัวผู้บริหารทั้งสิ้น โดยเฉพาะในการด าเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาไทยและการที่มีระบบการปฏิรูประบบราชการไทยด าเนินคู่ขนานไปพร้อมกัน ซึ่งจะมีการเปรียบเทียบและสะท้อนให้เห็นถึงฝีมือและผลงานได้ชัดเจนขึ้น การท างานของผู้บริหารสถานศึกษานั้นดูจะสลับซับซ้อนขึ้นกว่าเดิม จึงต้องการความเป็นนักบริหารมืออาชีพที่มีทั้งความรู้ ความสามารถทางการบริหารและความเป็นผู้น าทางวิชาการในการบริหารการศึกษาค่อนข้างสูง มากกว่าที่เคยเป็นอยู่เดิม

ลักษณะพื้นฐานของวิชาชีพชั้นสูง

ความเป็นนักวิชาชีพชั้นสูงหรือความเป็นนักบริหารมืออาชีพที่มีการกล่าวถึงอย่างมากมายนั้น ผู้เสนอแต่ละท่านต่างก็มีมุมมอง และแนวความคิดตามความเชื่อของตน ตามหลักการและแนวความคิดที่แต่ละคนยึดถือเป็นหลัก แต่เมื่อได้ศึกษาจากวิวัฒนาการของศาสตร์ด้านการบริหารการศึกษา ได้พบข้อสรุปว่า ความเป็นนักวิชาชีพชั้นสูงมักจะประกอบด้วย ลักษณะพื้นฐาน ต่อไปนี้
1. มีการศึกษาอบรมในศาสตร์ที่มีองค์ความรู้ที่เป็นระบบระเบียบ
    องค์ความรู้ที่เป็นระบบระเบียบของนักวิชาชีพชั้นสูง ในภาษาอังกฤษเรียกว่า มี Systematic Body of Knowledge คือ มีการประมวลความรู้และพัฒนาทางวิชาการก้าวหน้าจนเป็นศาสตร์
( Discipline or Science) มาอย่างเป็นระบบแล้ว มีระบบการจัดการศึกษา มีการเรียนรู้ การฝึกฝนอบรมที่ชัดเจน เป็นที่ยอมรับทางสังคม โดยเฉพาะมักจะเป็นระบบการศึกษาอบรมในระดับอุดมศึกษาเป็นหลัก ซึ่งจะมีองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ มีหลักการ มีทฤษฎี มีแบบแผนการปฏิบัติเฉพาะสาขาของตน และมีการค้นคว้าวิจัยในศาสตร์แห่งวิชาชีพให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ
2. การมีอำนาจปฏิบัติการในวิชาชีพ (Professional Authority)
    Professional Authority เป็นอีกลักษณะหนึ่งของความเป็นนักวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งจะมีการยอมรับทางสังคมหรือมีกฎหมายรองรับให้อำนาจปฏิบัติการ อำนาจในการวิเคราะห์และการตัดสินใจในการปฏิบัติการวิชาชีพเฉพาะทาง (Professional diagnosis and decision-making) ได้รับการรับรองในการมีอำนาจให้การฝึกฝน อบรมในวิชาชีพเป็นการเฉพาะทาง มีอำนาจทั้งที่เป็นทางการและที่ไม่เป็นทางการในการควบคุมวิชาชีพออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีอำนาจควบคุมกำกับมาตรฐานอาชีพและผู้ปฏิบัติในวิชาชีพ
3. การมีจรรยาบรรณและมาตรฐานแห่งวิชาชีพ
    จรรยาบรรณและมาตรฐานแห่งวิชาชีพที่มักจะนิยมเรียกกันว่า Code of conduct หรือProfessional ethics เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก การมีจรรยาบรรณและมาตรฐานแห่งวิชาชีพเป็นสิ่งที่ใช้เป็นหลักกำกับความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติ ต่อผู้รับบริการ และต่อสังคมของผู้ปฏิบัติการในวิชาชีพและใช้เป็นหลักมโนธรรมกำกับตนเองของผู้ประกอบวิชาชีพในความประพฤติส่วนตัว การปฏิบัติตนและการไม่ใช้วิชาชีพไปในทางที่ไม่ชอบธรรม หรือละเมิดจรรยาบรรณในวิชาชีพชั้นสูงของตน
4. การมีสมาคมวิชาชีพชั้นสูง
การมีสมาคมวิชาชีพชั้นสูงของตนเอง เป็นเรื่องสำคัญประการที่ 4 ที่มักจะมีให้เห็นทั่วไปในสังคมที่พัฒนาวิชาชีพก้าวหน้าค่อนข้างมากแล้ว คือ การมีสมาคมวิชาชีพชั้นสูงของตนเอง เป็นสิ่งที่เรียกกันว่าProfessional Culture & Association แต่ในประเทศไทยเรา พบว่า ชอบใช้กันว่า Professional Association ซึ่งเป็นสมาคมหรือเป็นแหล่งกลางส าหรับการส่งเสริม ดูแล และพัฒนาวิชาชีพ หรือเป็นองค์กรกลางสำหรับการดูแล ควบคุม กำกับ ออกใบอนุญาต เฝ้าระวังการละเมิดและพัฒนาวิชาชีพให้ก้าวหน้า ให้มีประสิทธิภาพและให้เป็นที่ยอมรับนับถือในมาตรฐานและคุณภาพของวิชาชีพอยู่เสมอ

ลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมืออาชีพ

เมื่อพิจารณาจากคุณลักษณะเฉพาะตัวของผู้ดำรงวิชาชีพชั้นสูงแล้ว ส่วนใหญ่เรามักจะพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องคุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติในวิชาชีพหรือประสบการณ์จากการผ่านการฝึกอบรมการปฏิบัติในวิชาชีพ ผลงานเชิงวิชาการ ผลงานดีเด่น หรือการปฏิบัติการที่ดีเด่น ก้าวหน้า ลักษณะเชิงบุคลิกภาพที่เป็นเอกลักษณ์ประจำวิชาชีพ และการยึดวิชาชีพนั้นเป็นอาชีพหลักในการดำเนินชีวิต แต่สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพนั้น ในที่นี้จะเสนอลักษณะสำคัญที่ควรจะปรากฏให้เห็นในตัวบุคคลที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา คือ
1. ความสามารถในเชิงวิชาการที่เป็นที่ยอมรับของคนในวงการบริหารสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องสำหรับตัวผู้บริหารสถานศึกษานั้น งานหลักคือ การบริหารสถานศึกษาให้ได้มาตรฐานและมี
คุณภาพในระดับสูง ผลงานที่สำคัญที่สุดคือ การศึกษาที่มีคุณภาพของสถานศึกษา การที่ผู้บริหารมีผลงานทางวิชาการของตนเอง มีบทความที่แสดงถึงฐานความรู้ของตนเอง มีงานวิจัย งานนวัตกรรมการศึกษาที่มีฐานจากวิชาการชั้นสูง การมีตำราหรือเอกสารวิชาการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆที่มีปริมาณและคุณภาพ เป็นที่รู้จักกันในแวดวงการบริหารด้วยกันหรือในวงการอื่นที่เกี่ยวข้อง จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและความศรัทธาให้แก่พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู บุคลาการทางการศึกษาของสถานศึกษา นักเรียนและชุมชนหรือบุคคลวงนอกได้เป็นอย่างดี และจะเป็นฐานของการสะท้อนถึงความเป็นผู้นำทางวิชาการของตัวผู้บริหารเองโดยตรงความเป็นผู้ที่มีความสามารถทางวิชาการจึงเป็นคุณลักษณะที่เป็นปัจจัยส าคัญในระดับต้นๆของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ นอกจากนี้ ความเป็นนักวิชาการ ความสามารถทางวิชาการ และความเป็นผู้นำทางวิชาการ จะมีบทบาทสำคัญที่ส่งผลต่อการเป็นนักบริหารมืออาชีพเป็นอย่างมาก
2. ความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริตและยุติธรรมความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริตและยุติธรรมจะเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคต ผู้บริหารสถานศึกษานั้นอยู่ในสถานะที่อาจให้คุณ-ให้โทษต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาได้ค่อนข้างมาก มีอำนาจอนุมัติ กำหนดการแต่งตั้งตำแหน่งภายใน แต่งตั้งกรรมการต่างๆที่เป็นกรรมการภายในของสถานศึกษาและอาจเป็นผู้เสนอการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญบางอย่างได้ในอนาคต ผู้รับผิดชอบการประเมินการสอนและการท างานของบุคลากรต่างๆในโรงเรียน จะมีอำนาจตรวจสอบการทำงานในสถานศึกษาได้ทุกเรื่อง ทุกขั้นตอนความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริตและยุติธรรมจึงเป็นสิ่งส าคัญยิ่งส าหรับการบริหารสถานศึกษาที่จะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจจากครูและบุคลากรได้ค่อนข้างมาก นำมาซึ่งขวัญและกำลังใจ ความกระตือรือร้นในการทำงาน และการให้ความร่วมมือ การที่จะได้รับการประเมินให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงในผลงานและการปฏิบัติงานซึ่งจะส่งผลสู่ประสิทธิภาพในการทำงาน ความสามัคคี การดำเนินงานร่วมกันอย่างราบรื่น และการประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์แผนงาน นโยบายและวิสัยทัศน์กับการพัฒนาโรงเรียน
3. การเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ เห็นการณ์ไกล มองอนาคตขององค์การเป็นหลักการมีคุณลักษณะเป็นคนมองอนาคต ( Future-oriented) เห็นการณ์ไกล มีวิสัยทัศน์ (Vision หรือเป็น Visionary manager) เป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้ สามารถฝึกฝนอบรม สั่งสมได้ เพิ่มพูนทักษะได้ สำหรับผู้ที่มีความสามารถก้าวขึ้นมาสูงถึงระดับตำแหน่งผู้นำองค์การ วิสัยทัศน์กว้างไกลจึงเป็นคุณลักษณะจำเป็นที่สำคัญ งานการศึกษาของโรงเรียนหรือสถานศึกษาเป็นงานสำคัญต่อการพัฒนาตัวคนหรือเยาวชนที่อยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษานั้น และคนที่ได้ผ่านกระบวนการหรือได้รับการพัฒนาจากสถานศึกษานั้นจะกลายเป็นฐานสำคัญของสังคมต่อไป
4. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
การปฏิรูปการศึกษาจะมีการเปลี่ยนแปลงในการศึกษาค่อนข้างมาก แตกต่างไปจากที่เคยรู้ เคยเข้าใจ ที่เคยมีประสบการณ์ การปฏิรูปตามแนวที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่จะต้องรู้ว่าจุดหมายของการปฏิรูปการศึกษาคือ การพัฒนาเยาวชนและคนไทยในอนาคตให้เป็นคนดี มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง คิดดี มีคุณภาพ มีความเป็นไทยสามารถปรับตัวได้เหมาะสมกับสถานการณ์โลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งคุณภาพของคนไทยเช่นนี้ จะเป็นทรัพยากรสำคัญสำหรับการอยู่รอดและการพัฒนาของประเทศไทยในกระแสสังคมยุคใหม่ ที่ต้องใช้ความรู้เป็นเครื่องมือส าคัญของการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตในด้านการจัดการเรียนการสอน เปลี่ยนจากระบบที่เคยเน้นเนื้อหาวิชา และจากการที่ครูเป็นศูนย์กลางหรือเป็นแกนหลักของการจัดการเรียนการสอน ไปเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของผู้เรียนเป็นหลัก ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้พัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ ให้ประเมินผลการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ให้ปรับบทบาทของครูจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ มาเป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการเรียนรู้ ให้ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และการถ่ายทอดความรู้และใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งความรู้ที่หลากหลายเพื่อการเรียนการสอนในด้านหลักสูตร จะมีการพัฒนาหลักสูตรสู่แนวใหม่ที่เน้นการตอบสนองผู้เรียนและชุมชน มีกระบวนการและเนื้อหาที่ครอบคลุม เชื่อมโยง ต่อเนื่องกันทุกระดับและประเภทของการศึกษาไม่ตัดเป็นแท่งแบ่งเป็นท่อนแบบเก่า จะครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีคุณธรรมจริยธรรม เน้นการกระจายอ านาจให้สถานศึกษา จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมกับท้องถิ่นและตนเองได้ โดยส่วนกลางจะจัดทำหลักสูตรแกนกลางและมาตรฐานการศึกษาของชาติในการปฏิรูปวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา จะปฏิรูปสู่ระบบและกระบวนการผลิตครูในแนวใหม่ ปรับระบบการใช้และการพัฒนาครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง จะมีการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู ผู้บริหารและบุคลาการทางการศึกษาเป็นการเฉพาะ การบริหารจัดการตามแนวปฏิรูปการศึกษาจะเป็นการจัดระบบบริหารใหม่ ให้การศึกษาเป็นระบบที่มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ ให้มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษาสถานศึกษาและท้องถิ่น จะมีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาสู่สถานศึกษาโดยตรงตามมาตรา 39และมาตรา 40 นอกจากสาระดังกล่าวแล้ว สถานศึกษายังมีภารกิจอีก เช่น เรื่องประกันคุณภาพและภารกิจ
เฉาพะซึ่งจะเป็นไปตามที่ก าหนดในมาตราต่างๆ ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แต่สิ่งที่ส าคัญที่เป็นหัวใจคือ การดำเนินการเรียนการสอนที่ต้องเป็นไปตามแนวการจัดการศึกษา ในหมวด 4 มาตรา 22-30โดยตรง

5. ความสามารถในการบริหารจัดการ
ผู้บริหารสถานศึกษาไม่ใช่ผู้บริหารส่วนราชการตามระบบราชการ แต่เป็นผู้น าในหมู่นักวิชาชีพชั้นสูงที่มีความเป็นตัวของตัวเองและมีความรับผิดชอบในวิชาชีพค่อนข้างสูง ไม่ชอบการสั่งการ ไม่ชอบการบังคับบัญชา ไม่นิยมการใช้อ านาจของตัวผู้บริหารแต่นิยมการมีส่วนร่วม การปรึกษาหารือ การให้เกียรติกันการรู้จักยกย่องกัน การอยู่ร่วมและปฏิบัติงานแบบเพื่อนร่วมอาชีพเป็นแบบ Colleague ไม่ใช่แบบลูกน้องในขณะที่หลายส่วนยังต้องเกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์ ต้องเป็นไปตามระเบียบ ต้องด าเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายการศึกษาและ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพจึงต้องใช้ความสามารถอย่างสูงในการบริหารจัดการ ดูแล สนับสนุนให้ครูและบุคลากรใช้ความรู้ ความสามารถ อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในขณะที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
กระบวนการเรียนการสอนไปอย่างมาก การใช้อำนาจสั่งการถึงแม้จะทำได้ก็ส่งผลให้เกิดการไร้ประสิทธิภาพได้ง่าย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผู้บริหารต้องแก้ปัญหาต่างๆที่สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงให้ทันท่วงทีผู้บริหารสถานศึกษาปัจจุบันและอนาคตจะต้องรู้และเข้าใจในหลักธรรมาภิบาล จะต้องน ามาใช้ในการบริหารจัดการการศึกษา ในการเรียนการสอนของโรงเรียน ต้องมีความสามารถเป็นผู้น าในการประสานประโยชน์ ในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหา การร่วมมือกัน พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการบริหารการศึกษาของโรงเรียน ที่สำคัญคือ การรู้จักให้ความสำคัญและเคารพในศักยภาพของผู้อื่น การมีทักษะสูงด้านมนุษยสัมพันธ์และกระบวนการกลุ่ม-ทีม ในการทำงาน
6. ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหลักสูตร ศาสตร์การสอน รูปแบบการเรียนการสอน และความก้าวหน้าทางวิทยาการที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวนี้จะมีความสัมพันธ์กับความเป็นนักวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารที่มีความรู้ความชำนาญสูงในเรื่องหลักสูตรและการสอนมักจะได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำทางวิชาการ ถือได้ว่าเป็นเนื้อหาสาระชั้นสูงที่ผู้บริหารต้องไม่มองข้าม และเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างศรัทธาในหมู่ครู บุคลากรทางการศึกษา และในแวดวงการบริหารสถานศึกษาได้เป็นอย่างดีเนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาได้ให้แนวหลักสูตรและการดำเนินงานตามหลักสูตรในแนวใหม่ที่แตกต่างจากระบบเก่าโดยสิ้นเชิง ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาจะเป็นผู้ที่สามารถเห็นภาพรวมของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ทั้งระบบได้ไม่ยากนัก และจะเห็นได้โดยง่ายว่าสัมพันธ์โดยตรงกับการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพของโรงเรียนที่ตนรับผิดชอบ ซึ่งผู้บริหารสามารถใช้ภาวะผู้นำในการบริหารจัดการในโรงเรียนของตนเองได้โดยตรง
7. ความรู้และความสามารถทางด้านเทคโนโลยีในระดับที่เพียงพอ
โลกปัจจุบันและอนาคตจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะมีการใช้เทคโนโลยีกันอย่างแพร่หลาย มีการใช้อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศใหม่ๆ ในการสื่อสารส่งผ่านข้อมูลความรู้กันอย่างกว้างขวาง จะกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ในการบริหารจัดการเรียนการสอนที่มีอิทธิพลแผ่กว้างทั่วไป ผู้บริหารสถานศึกษายุคปฏิรูปจึงต้องรู้ทัน ก้าวทัน รู้จักและสามารถใช้ได้ไม่น้อยกว่าผู้อื่น ซึ่งนอกเหนือจากจะใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนและการบริหารสถานศึกษาโดยตรงแล้ว ยังอาจใช้เพื่อการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของสถานศึกษา สร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน

8. ความสามารถในการแสวงหาทุน แหล่งทุน และการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สะท้อนถึงฝีมือของผู้บริหารมืออาชีพเมื่องบประมาณมีจำกัด ซึ่งเป็นสภาพที่เกิดขึ้นจริงและจะเผชิญหน้ากับผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคตโดยตรงอย่างแน่นอน ความสามารถในการระดมทุนจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคตพึงให้ความสนใจ การประสานงานกับหน่วยงานบุคคล องค์การ ศิษย์เก่า ชุมชน และการดำเนินกิจกรรมเพื่อการศึกษาจะเป็นแหล่งสำคัญของเงินทุนในอนาคตและจากการที่โรงเรียนได้รับการให้สถานภาพนิติบุคคล หมายความว่า ในอนาคต สถานศึกษาจะมีความคล่องตัวในการบริหารการเงินและทรัพย์สินได้มากขึ้น สามารถมีทรัพย์สินและเงินทุนของตนเองในฐานะนิติบุคคล มีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา แต่ต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ทางการศึกษาของสถานศึกษา โดยไม่ให้ขัดแย้งกับนโยบายวัตถุประสงค์ และภารกิจหลักของสถานศึกษา และจะต้องจัดให้มีระบบการติดตามงบประมาณ ตรวจสอบการใช้งบประมาณด้านต่างๆของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ป้องกันไม่ให้มีการทุจริต หรือคอรัปชั่นเกิดขึ้น
9. การเป็นผู้มีจิตสำนึกที่ดีต่อการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม
ผู้บริหารในฐานะที่เป็นผู้นำในสถานศึกษาควรเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย โดยอาศัยเอกลักษณ์ไทยเป็นจุดแข็งในการดำเนินงาน การส่งเสริมกิจกรรมวนสถานศึกษา การประพฤติปฏิบัติส่วนตัว และการสร้างบรรยากาศในสถานศึกษา ที่แสดงถึงคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมไทย นอกจากนี้ยังมีคุณค่าบางอย่างที่สำคัญ ที่น่าส่งเสริม หรือประพฤติปฏิบัติด้วยตนเองเป็นหลัก เช่น การให้คุณค่าแก่ระบบอาวุโส การแสดงความเมตตากรุณา โอบอ้อมอารี การเห็นคุณค่าสิ่งที่ดีของไทย การเป็นแบบอย่างของพุทธศาสนิกชน การแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธีและเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีด้วยตนเอง เป็นต้น

สรุป
จะเห็นได้ว่า ในการที่จะเป็นนักบริหารที่ดีในอนาคตนั้นจะต้องมีคุณลักษณะหลายอย่างที่เป็นแบบใหม่แนวใหม่ และแบบผสมผสานที่ไม่มีลักษณะเฉพาะที่ตายตัว และสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาแล้ว ก็คงไม่อยู่ในข้อยกเว้นเช่นกันการที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บริหารในระดับมืออาชีพนั้น ต่อไปคงต้องเป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์มองการณ์ไกล มีมุมมองในการบริหารการทำงานเชิงกลยุทธ์ รู้จักการประมวลวิเคราะห์ ประเมินและตัดสินใจและยังต้องดูแล รับผิดชอบการดำเนินงานตามปกติของสถานศึกษาในทุกด้าน ต้องมีวิสัยทัศน์ใหม่ในการบริหารจัดการให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องปรับแนวคิดในการบริหารจัดการบูรณาการที่เน้นการแก้ปัญหาและดำเนินการพัฒนาที่ผสมผสานชัดเจนทั้งเชิงนโยบายและภาคปฏิบัติ ต้องมีพฤติกรรมการบริหารแบบเชิงรุก เน้นผลงานหรือผลสำเร็จตามเป้าหมายและคุณภาพที่ได้วางไว้เป็นหลักสำคัญบทบาทการนิเทศกำกับดูแล (Supervision) จะต้องชัดเจน ต้องมีความสามารถสูง ทั้งการกำกับดูแลช่วยเหลือ ชี้แนะและให้การสนับสนุน ต้องรู้จักการประสานงานและการดึงศักยภาพของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในงานและกิจการของสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี ต้องมีบทบาทเป็นผู้ริเริ่ม ชี้น าแนวทาง
ความคิด และประสานความคิดที่ดีในการทำงานได้เป็นอย่างดี สามารถสร้างความเข้าใจร่วมกับบุคลากรและประสานสัมพันธ์กับบุคลากรทุกฝ่ายได้ด้วยดี ยืดหยุ่นในการประสานสัมพันธ์กับบุคลากรทุกระดับได้เหมาะสมเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในส่วนต่างๆอย่างเหมาะสม ดูแลให้มีการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรด้วยวิธีการที่สุจริต ยุติธรรม โปร่งใส พร้อมต่อการตรวจสอบในการดำเนินงานทุกด้านสามารถสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่ายและต่อวงการภายนอกถึงจุดยืน นโยบายการดำเนินงาน และการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการบริหารคุณภาพ (QualityManagement) การบริหารที่มุ่งเป้าไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษา

เอกสารอ้างอิง

โครงการพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาประจำการ ชุดวิชาภาวะผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพ : สำนักงานส่งเสริมวิชาชีพ สำนักงานเลขานุการคุรุสภา,2549.
จริยะ วิโรจน์ และคณะ การวิจัยเชิงประเมินผลโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ เขตการศึกษา 5.ราชบุรี :สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 4 กระทรวงศึกษาธิการ, 2546.
จำลอง นักฟ้อน เส้นทางสู่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ

http://www.moe.go.th/wijai/road%20map.htm

ธงชัย สันติวงศ์ การบริหารงานสาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ : ประชุมช่าง, 2546.ปราชญา กล้าผจญ. “นักบริหารการศึกษามืออาชีพ”. วารสารวงการครู. ฉบับเดือนสิงหาคม 2548.รุ่ง แก้วแดง “ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ”. การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพ : ข้าวฟ่าง,
2545.

^